Skip to content
All-In-One WP Migration
1. All-In-One WP Migration ปลั๊กอินย้ายเว็บที่ใช้งานง่ายที่สุดในโลก
2. All-In-One WP Migration – Dropbox Extension
3. All-In-One WP Migration – URL Extension

All-In-One WP Migration ปลั๊กอินสำหรับย้ายเว็บไซต์ที่ง่ายที่สุดที่เราได้นำเสนอไปแล้วในบทความ All-In-One WP Migration ด้วยตัวปลั๊กอินนั้นใช้งานง่าย สามารถใช้แบคอัพและย้ายเว็บได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องห่วงการสร้างฐานข้อมูลเหมือนวิธีปกติ ตัวปลั๊กอินฟรีนั้นจำกัดการใช้งานที่ 512mb ซึ่งก็ถือว่าเยอะพอสมควรสำหรับเว็บทั่วไป (เราลองกับเว็บของเราที่มีบทความ 164 บทความ 26 ปลั๊กอิน และภาพจำนวนมาก ก็ยังไม่ถึง 512mb)

Dropbox Extension

คือ add-ons เสริมของปลั๊กอิน All-In-One WP Migration ซึ่งตัวเวอร์ชั่นฟรีนั้นเราสามารถที่จะแบ็คอัพเก็บไว้เฉพาะในโฮ็สต์หรือดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องของเรา แต่หากเราใช้ Dropbox Extension นี้ เราจะสามารถส่งไฟล์ไปเก็บไว้บน Dropbox ได้ด้วย ช่วยให้เราประหยัดพื้นที่จัดเก็บบนเซิฟเวอร์และยังเพิ่มความปลอดภัย ไม่ต้องกลัวไฟล์ในเครื่องเสียหายหรือโดยโจรจี้เอาแฟลชไดร์ 😀 นอกจากนี้ยังทำให้เรา import ได้ไม่จำกัดขนาดโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งตัว Unlimited Extension (แต่หากใครเว็บใหญ่เกินพื้นที่ฟรีของ Dropbox อาจจะเลือกเป็นตัว Google Drive Extension แทนก็ได้ค่ะ เพราะพื้นที่ฟรีของ Google Drive จะให้เยอะกว่ามาก)

ปลั๊กอินของ Servmask นั้นเสนอการอัพเดตแบบ Lifetime คือเราไม่ต้องต่ออายุทุกปีเหมือนที่อื่น นับว่าคุ้มค่าที่สุดในระยะยาว

การติดตั้ง

ให้เราทำการติดตั้งปลั๊กอิน All-In-One WP Migration ก่อน จากนั้นจึงทำการติดตั้งตัว Add-ons ที่เราได้ดาวน์โหลดมาจาก Email หลังจากจ่ายเงินเสร็จ

โดยติดตั้งแบบอัพโหลดผ่านเมนู​ Plugins > Add New ของ WordPress แล้วก็ทำการ Activate ให้เรียบร้อย (หากต้องการย้ายโฮ้สต์ ก็ให้ติดตั้งที่เว็บปลายทางด้วย)

จากนั้นไปที่เมนู All-In-One WP Migration > Dropbox Settings แล้วคลิก LING YOUR DROPBOX ACCOUNT

ระบบจะเปิด Dropbox มาเพื่อทำการเชื่อมต่อ ให้เรากรอก Username/Password สำหรับ Dropbox แล้วคลิก Sign in

คลิก Allow

ระบบจะนำเรากลับมายังหน้าตั้งค่า Dropbox Settings เพื่อให้เราตั้งค่าอื่นๆ เพิ่มเติมได้ และแสดงเนื้อที่คงเหลือของ Drobox ให้เราทราบ

ตัวอย่างข้างต้น เราตั้งค่าให้มีการแบคอัพทุกวัน และ Retention settins กำหนดให้เก็บไฟล์แบคอัพย้อนหลังไว้ 2 ไฟล์ เพื่อไม่ให้กินพื้นที่มากเกินไป แต่ถ้าหากเว็บไม่ได้ใหญ่มาก ก็สามารถกำหนดเพิ่มได้ เพื่อที่เราจะสามารถย้อนหลังได้หลายวัน และอาจจะกำหนดแบคอัพไว้ทั้งแบบทุกวันและทุกอาทิตย์ไว้ด้วยกันด้วยก็ได้

การสร้าง Backup หรือ ​Export

ก่อนการสร้างแบคอัพแนะนำให้ Deactivate ปลั๊กอินเกี่ยวกับความปลอดภัยที่มีการตั้งค่า Firewall ไว้ก่อน หรือจะปิดปลั๊กอินความปลอดภัยไปก่อนเพื่อความแน่ใจก็ได้ เพราะหากเป็นการย้ายเว็บไซต์ไปโฮ้สต์ใหม่ก็อาจจะทำให้เรามีปัญหาได้

สามารถไปที่เมนู All-In-One WP Migration >  Export แล้วทำการเลือก Dropbox

ปลั๊กอินทำการสร้างไฟล์และแสดงสถานะอัพโหลดไปยัง Dropbox

อัพโหลดเสร็จเรียบร้อย คลิก CLOSE

Import

สำหรับการกู้คืนเว็บหรือย้ายเว็บใน All-In-One WP Migration นั้น เราจะต้องทำการ Import ไฟล์แบคอัพที่สร้างจากปลั๊กอินเสียก่อน จึงจะสามารถ Restore ได้ หากเป็นการกู้แบคอัพธรรมดากับเว็บที่เราเชื่อมต่อ Dropbox ไว้อยู่แล้วก็สามารถที่จะ Import from Dropbox ได้เลย เพราะเว็บจะมองเห็นไฟล์บน Dropbox อยู่แล้ว

ให้เราไปที่เมนู All-In-One WP Migration > Import แล้วเลือก Dropbox จากเมนู IMPORT FROM

หากเป็นเว็บที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับ Dropbox คือเป็นเว็บปลายทางที่เราต้องการย้ายไป หลังจากลงปลั๊กอิน All-In-One WP Migration และ Dropbox Extension เรียบร้อยแล้วมา Import ด้วยขั้นตอนนี้ ปลั๊กอินก็จะให้เราทำการเชื่อมต่อกับ Dropbox ก่อน เหมือนวิธีการก่อนหน้านี้ โดยต้องใช้แอคเค้าท์ Dropbox อันเดียวกัน ถ้าเชื่อมต่อเสร็จแล้วเราค่อยมาที่หน้า Import อีกครั้ง คราวนี้เราจะสามารถเลือกไฟล์แบคอัพบน Dropbox และทำการ IMPORT ได้เลย

ปลั๊กอินแสดงสถานะการดาวน์โหลด

หลังจากนั้นระบบจะแจ้งให้เราทราบว่าจะมีการ overwrite เขียนทับไฟล์และฐานข้อมูลต่างๆ ในเว็บนี้ เขาจะเตือนให้เราแบคอัพไว้ก่อนหากเป็นเว็บที่ใช้งานอยู่ (แล้วแต่เรา) แต่ถ้าเป็นเว็บที่เราติดตั้งใหม่เพื่อย้ายจากที่เดิมไป ไม่มีข้อมูลอะไร เราก็สามารถคลิก PROCEED ได้เลย

แสดงสถานะการกู้คืนข้อมูลจากแบคอัพ

หลังจากกู้คืนข้อมูลแล้ว ก็จะแสดงขั้นตอนแนะนำสิ่งที่ต้องทำต่อไป การบันทึก Permalinks ใหม่ใน Settings > Permalinks คลิกปุ่ม CLOSE ได้เลย

เมื่อไปที่เมนู Settings > Permalinks จะพบว่า เว็บของเราจะบังคับให้เราทำการล็อกอินใหม่อีกครั้ง ซึ่งการล็อกอินนี้จะต้องใช้รหัสผ่านจากเว็บเดิมคือเว็บต้นฉบับที่เราทำการ Import มานั่นเอง

คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อทำการบันทึก Permalinks อีกครั้งโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร

ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเห็นว่า www.wpthaiuser.life นั้นมีข้อมูลเหมือนกับ www.wpthaiuser.com ทุกประการ (วันที่ 19/09/2017) เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการย้ายเว็บในครั้งนี้

คำแนะนำสำหรับคนที่จะเลือกใช้ Extension ของทาง Sermask คือไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ Extension ตัวไหน ก็จะสามารถ Backup แบบ Unlimited คือไม่จำกัดขนาดได้ เพราะเวอร์ชั่นฟรีนั้นได้เพียง 512mb (ก็ถือว่าเยอะมาก เว็บเรามีร้อยกว่าบทความยังไม่ถึงลิมิตเลย) ดังนั้นหากจะซื้อ Unlimited Extension ซึ่งราคา $69 เตยคิดว่า เพิ่มอีกนิดหน่อยซื้อตัวอื่นที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเราเพิ่มขึ้นดีกว่า เช่น Dropbox Extension ตัวนี้ หรือถ้าใครใช้ Google Drive ก็เอา Google Drive Extension ก็ได้ และ Amazon S3 Extension

บทสรุป
เป็นตัวเสริมสำหรับคนที่ใช้งาน All-In-One WP Migration ที่ต้องการความสะดวกเพิ่มขึ้นได้ดี เพิ่มความปลอดภัยและสะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องอัพโหลดดาวน์โหลดหลายรอบ และช่วยประหยัดพื้นที่บนเซิฟเวอร์
Customizability
Easy to use
ข้อดี
ใช้งานง่าย
สะดวกรวดเร็ว
ลดขั้นตอนการดาวน์โหลดอัพโหลดได้ดี
สามารถแบคอัพอัตโนมัติได้
ข้อเสีย
การตั้งค่าแบคอัพอัตโนมัติไม่สามารถระบุเวลาเองได้
4.5
คะแนน
Back To Top
Search