Skip to content

การเขีนยบล็อกที่ wordpress.com นั้นมีข้อดีตรงที่เราไม่ต้องเสียอะไรเลย เพราะทุกอย่างล้วนบริการฟรี ซึ่งหากเราต้องการโดเมนเป็นของตัวเอง โดยไม่ต้องต่อท้ายด้วย wordpress.com ก็สามารถซื้อโดเมนมาครอบได้ใน Store

แต่การย้ายบล็อกจาก wordpress.com มา Selfhost นั้นจะแตกต่างกันตรงที่ เราไม่สามารถเข้าไปในฐานข้อมูลเพื่อทำการ Export/Import database เหมือนการย้ายโฮ้ส WordPress ทั่วไปได้ เราจึงต้องใช้การ Export เป็น xml ไฟล์แทน ซึ่งจะได้เฉพาะ content เท่านั้น ส่วนธีมและปลั๊กอินต่างๆ นั้นจำเป็นต้องติดตั้งเองต่างหากอยู่แล้ว นอกเสียจากจะใช้บริการย้ายแบบเสียเงินของ WordPress เอง

แต่การใช้บล็อกฟรีก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น

การดีไซน์ wordpress.com ไม่อนุญาติให้มีการแก้ไขดีไซน์ของธีมนอกเหนือจากที่ธีมมีให้ใน Customize เช่น logo, background, หากเราจะทำการเปลี่ยนสีก็อาจมีเพียงชุดสีที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น รวมถึงตัวหนังสือต่างๆ ซึ่งหากเราต้องการแก้ไขในเรื่องพวกนี้ เราจำเป็นจะต้องเสียเงินรายปี ซึ่งก็ถือว่าแพงพอสมควร

ธีม บน wordpress.com นั้นมีจำกัด และราคาแพง

ปลั๊กอิน เราไม่สามารถเพิ่มปลั๊กอินใดๆ ได้

Google Adsense สำหรับคนที่ต้องการใช้โฆษณาเจ้าอื่นที่จำเป็นต้องแทรกโค้ดสคริปต์ต่างหากจะไม่สามารถทำได้ เพราะ wordpress.com นั้นมีโฆษณาของตัวเองอยู่แล้ว เราจะทำได้เฉพาะกับโฆษณาที่เป็นแบนเนอร์เท่านั้น

ข้อจำกัดนี้อาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนที่แค่ต้องการเขียนบล็อก เพราะความต้องการแค่เขียนและเผยแพร่บทความนั้นถือว่า wordpress.com ก็เพียงพอแล้ว แต่หากว่าเราคิดว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เราอึดอัดและต้องการเพิ่มลูกเล่นใหม่ๆ ให้กับเว็บ เมื่อนั้นเราจำเป็นที่จะต้องย้ายบล็อกของเรามาใช้โฮ้สต์ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า Selfhost 

การย้ายบล็อกนั้นเราจะเป็นที่จะต้องมีโฮ้สต์เป็นของตัวเองเสียก่อน จากนั้นทำการ ติดตั้ง WordPress ก่อนที่จะทำการ Export/Import บล็อกจาก wordpress.com

การ Export บล็อกจาก wordpress.com

ไปที่เมนู Tools > Export จากนั้นเลือก Export ข้อแรกที่เป็นแบบ xml ไฟล์ โดยเป็นการ export ฟรี อีกตัวเลือกจะเป็นการบริการจาก WordPress team ซึ่งมีค่าบริการในการ export

com-choose-export-free

จากนั้นระบบจะให้เราเลือกว่าต้องการที่จะ Export ทั้งหมด หรือเลือกเพียงบางส่วน เช่น เฉพาะ Post ในบาง Category ในที่นี้เราเลือก All content เพื่อ export ทั้งหมด จากนั้นเลือก Download Export File เพื่อบันทึก

com-export-all-content

ขั้นตอนการ Import

หลังจากที่เรา ติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ไปที่เมนู Tools > Import ระบบจะให้เราเลือกว่าจะ Import จากอะไร ก็ให้เลือกเป็น WordPress

import-choose-wordpress

ระบบจะให้ทำการติดตั้งปลั๊กอินสำหรับ Import ก่อนหากเป็นการ import ครั้งแรก

install-import-plugin

เมื่อติดตั้งเสร็จ ระบบจะถามว่าต้องการที่จะ Import เลยมั๊ย ให้เราเลือก Activeate Plugin & Run Importer ได้เลย

activate-run-import

เลือกไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดไว้ก่อนหน้านี้แล้วคลิกปุ่ม Upload file and import

import-choose-xml

ระบบก็จะถามว่าเราต้องการที่จะ Import โดยเปลี่ยนชื่ Author หรือไม่ ตรงนี้ไม่จำเป็นต้องกำหนดก็ได้ หรือเลือกจาก Select จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Submit โดยไม่ต้องติ๊กที่ช่อง Download and import file attachments

(ทำไมจึงไม่ติ๊กช่องนี้ เพราะถ้าหากเว็บบล็อกที่เรา Import มานั้นมีไฟล์ภาพเยอะ ระบบจะไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์มาได้ทั้งหมด เพราะจะติด Gateway timeout ของโฮ้สต์ คือใช้เวลานานเกินไปนั่นเอง ดังนั้นเราจึงทำการ Import เฉพาะข้อความเท่านั้น ไว้ดาวน์โหลดภาพมาทีหลังในขั้นตอนต่อไป

หากต้องการดาวน์โหลด Attachments files หรือไฟล์รูปภาพในตอนนี้เลย ต้องติดต่อกับทางโฮ้สต์ให้เพิ่มเวลาของการ Gatway timeout หรือ limit temporarily ให้เสียก่อนค่ะ ไม่เช่นนั้นอาจจะได้มาเพียงไม่กี่โพสเท่านั้น)

เมื่อทำการ Import เรียบร้อยแล้ว ระบบจะแจ้งให้ทราบแบบนี้

import-have-fun

เมื่อเราไปที่หน้าเว็บของเรา ก็จะเห็นว่าบทความทั้งหมดถูก import เข้ามาแล้ว

site-after-import

เมื่อเราดูบทความแต่ละบทความ ก็จะมีทั้งข้อความและภาพเช่นกัน  แต่… ภาพเหล่านี้คือภาพดึงจากที่เก็บอยู่บน wordpress.com บล็อกเดิมมาแสดงเท่านั้น เราสามารถดูที่ url ก็ได้ ซึ่งหากเราต้องการใช้ wordpress.com เป็นที่เก็บภาพไว้ก็สามารถจบที่ตรงนี้ก็ได้

แต่อย่าลืมว่าบล็อกฟรีที่ wordpress.com นั้นเราไม่ได้เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ และจะถูกลบเมื่อใดก็ได เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำขั้นตอนการ Import ภาพจาก wordpress.com มาไว้ที่โฮ้สต์ของเราเป็นขั้นตอนต่อไป

post-after-import

การ Import ภาพ

เนื่องจากภาพที่อยู่บนเว็บเราตอนนี้เป็นภาพที่ไม่ได้ใช้โดเมนของเว็บเรา แต่เป็นภาพที่อยู่บน บล็อก.wordpress.com เราจะเรียกภาพแบบนี้ว่าเป็น external image

เราจะใช้ปลั๊กอิน Import External Image เพื่อดึงภาพเหล่านี้ทั้งหมดมาไว้บนโฮ้สต์ของเราแทน และจะไม่เกิดการ Timeout เพราะปลั๊กอินจะค่อยๆ ดึงมาทีละ 50 บทความ แทนการดึงทีเดียวปริมาณมากๆ ทั้งหมด

import-external-image

เมื่อทำการติดตั้งปลั๊กอินแล้ว ให้ไปที่ Media > Import Images

ระบบจะแสดงบทความที่มีภาพที่พร้อมสำหรับการ import ให้เราคลิกที่ปุ่ม Import Images Now

import-external-image-detail-50

ระบบจะรายงานการทำงาน ไปเรื่อยๆ

import-still-looking-good

หากนานเกินไปอาจจะติดที่บางบทความ ปัญหานี้อาจเกิดจากการเชื่อมต่อ ไม่เป็นไร ให้เราคลิก refresh the page เพื่อทำการลิสต์หน้าบทความและไฟล์ที่ต้อง import ที่เหลืออยู่ แล้วกดปุ่ม Import Images Now เช่นเดิม จนกว่าภาพทั้งหมดจะถูก importมาไว้ไม่เหลือหลอ!

no-more-external-image

หมายเหตุ :

  • เนื่องจากการเชื่อมต่อระหว่างโฮ้สต์เรากับ wordpress.com นั้นจะไม่เหมือนกับการเชื่อมต่อมาที่เครื่องของเราโดยตรง บางครั้งจะมีบางภาพจริงๆ ที่มาไม่ครบ ให้เราตามไปเช็คใน Media > Library เช็คดูภาพที่เสียแล้วทำการแก้ไขที่บทความนั้นโดยตรงอีกที เพราะเราเคยลองทำแบบโหลดลงบนคอมตัวเองโดยวิธีจำลองโฮ้สต์แล้ว ไม่พบปัญหาแบบนี้เลย จึงคาดว่าน่าจะอยู่ที่การเชื่อมต่อของโฮ้สต์จริงๆ โดยเฉพาะหากมีโพสเยอะๆ ภาพเยอะๆ
  • ภาพ Featured Image จะไม่มา

ปิดบล็อกบน wordpress.com

เพื่อป้องกันการซ้ำกันของเว็บ เราจึงจำเป็นต้องปิดกั้นผู้เข้าชมเว็บของเราจาก url เดิม

ไปที่เมนู Settings > Reading แล้วติ๊กที่ตัวเลือก I would like my site to be private, visible only to myself and users I choose

set-site-private

Redirect

การ Redirect ใช้ในกรณีทั่วไปที่ปกติคนที่บล็อกบน wordpress.com จะมี url .wordpress.com ต่อท้าย เช่น http://myblog.wordpress.com เมื่อเราเปลี่ยนมาเป็น selfhost และใช้โดเมนของตัวเอง เราจึงจำเป็นที่ต้องต้องทำการ redirect url เดิมให้ไปที่โดเมนใหม่ของเรา โดยเมื่อคนเสริช google หรือ ลิงค์ต่างๆ ผ่านลิงค์เดิมที่เป็น myblog.wordpress.com จะได้เปลี่ยนไปที่ www.myseite.com แทน ทำให้เราไม่เสียทราฟฟิคจากผู้ชมกลุ่มเดิม

การทำรีไดเร็คนั้นไม่ฟรี มีเสียค่าบริการปีละ $13 เราแนะนำให้ทำการรีไดเร็คไว้ซัก 2 ปี เพื่อให้คนจดจำได้และผลต่อ seo

ไปที่เมนู Store แล้วคลิก Buy Now ที่บริการ Site Redirect

buy-site-redirect

 

กรอกโดเมนของเราที่เราต้องการให้มีการ Redirect ไป แล้วกด Redirect to this URL เพื่อทำการ Checkout ต่อไป เมื่อทำจนเสร็จ แล้วลองเข้า url เดิม เราจะถูก redirect ไปที่เว็บใหม่ที่เป็นโดเมนของเราเองทันที

site-redirect-to

Change Name Server

ใช้ในกรณีที่บล็อกของเรามีโดเมนครอบไว้และต้องการใช้โดเมนเดิมนี้ใน selfhost ของเราเองด้วย ก็ต้องทำการเปลี่ยน Name Server ให้ชี้ไปที่โฮ้สใหม่ของเรา แทนการ Redirect

ไปที่เมนู Store > My Domains คลิก Edit Domain ที่โดเมนของเรา

setting-my-domains

เลือก Name Servers เสร็จแล้วเลือก Use the custom name servrs listed below จากนั้นกด Remove name server ของ wordpress.com ออกทั้งหมด จากนั้นใส่ Name server ของเราเข้าไปแทน

remove-wordpress-nameserver

nameserver-details
ข้อมูล Name sever จากอีเมลของโฮ้สต์

เมื่อกรอก Name server ของเราเรียบร้อยแล้ว คลิก Save Changes

save-nameserver

จากนี้ก็รอจนกว่า Name server จะอัพเดตเรียบร้อย ใช้เวลาไม่เกิน 24-48 ชั่วโมง

แก้ลิงค์เสียจากภายนอก

คนที่บล็อกบน wordpress.com จะทราบดีว่า permalink ของ wordpress.com นั้นจะเป็นแบบ ปี/เดือน/วัน/postname เช่น http://makeupsubscribe.com/2014/06/01/hair-class/ ดังนั้นลิงค์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงมาสู่บล็อกเราจากภายนอกก็จะยังเป็นแบบเดิม แม้จะมีการรีไดเร็ค แต่พาทในส่วนของ ปี/เดือน/วัน นั้นยังคงอยู่เสมอ

เมื่อเราใช้ selfhost เราจะสามารถ ตั้งค่า Permalink ได้ เพื่อให้สั้นกระชับและสามารถจดจำได้ง่าย เราก็จะกำหนด Permalink เป็นแบบ Postname ดังนั้นลิงค์เชื่อเดิมที่เป็นแบบ ปีเดือนวัน ก็จะกลายเป็นลิงค์เสีย ผู้ชมที่เข้าชมตามลิงค์เหล่านั้น ก็จะพบกับหน้า 404 Not Found แทนที่จะเจอกับหน้าบทความที่เราต้องการให้เจอ

เราจะใช้ปลั๊กอิน Permalink Finder เพื่อทำการ Redirect ลิงค์ต่างๆ ไปยังโพสที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติ โดยอ้างอิงจากข้อมูลของลิงค์เดิม เช่น Title จากที่ได้ทดสอบมา มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ทำให้เราไม่ต้องเสี่ยงที่ผู้ชมจะเข้าเว็บเราแล้วเจอกับหน้า 404 Not Found ค่ะ

permalink-finder

จะเห็นว่าการย้ายโฮ้สต์นั้นมีขั้นตอนที่ค่อนข้างจุกจิกและมีรายละเอียดเยอะนิดนึง แต่หากเราเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆ แล้ว ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอะไรค่ะ มันจะเป็น step ของมันเอง

หากต้องการความสบายใจ ง่าย รวดเร็ว เราอาจต้องยอมเสียเงินเพื่อใช้บริการจาก WordPress เองก็ได้ค่ะ แลกกับเวลาและปัญหาจุกจิกอื่นๆ ที่อาจจะตามมา

สำหรับคนที่คุ้นชินกับการใช้เครื่องมือต่างๆ เหมือนกับบน wordpress.com ก็สามารถติดตั้งปลั๊กอิน Jetpack เพื่อใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ที่ WordPress.com มีได้เช่นกันค่ะ

Back To Top
Search