Skip to content

ปลั๊กอินตัวนี้มีคนถามหาเยอะพอสมควร ส่วนใหญ่มักจะถามมาพร้อมรูปภาพว่า ทำแบบนี้ยังไง นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยไม่รู้จะเสริชหาว่ายังไงนั่นเอง ซึ่งคำที่เขาใช้ในการเสริชภาษาอังกฤษก็คือ Table Of Contents ครับ สำหรับปลั๊กอิน Table of content นั้นก็มีหลายตัวพอสมควร จริงๆ เมื่อใช้ WordPress แรกๆ เราก็คเคยรีวิวไปตัวนึงคือ Table of contents Plus จนมันเลิกพัฒนาไปแล้ว และก็มีคนรับไปพัฒนาต่ออีกรอบแล้ว แต่วันนี้เราจะมาแนะนำตัว LuckyWP Table of contents เนื่องจากเมื่อลองใช้งานแล้ว ตัวนี้ใช้งานได้ง่าย สไตล์สวยงาม การปรับแต่งไม่เยอะมากแต่เข้าใจง่าย เรียกว่ากำลังพอดีเลยทีเดียว

นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนอ่านสำหรับบทความที่มีเนื้อหายาวๆ แล้ว ยังส่งผลดีทางด้าน SEO

แสดงตัวเลือกหัวข้อเมื่อมีจำนวนตามที่กำหนด

ปกติเวลาที่เราเขียนบทความ ตามหลัก SEO แล้ว เราจะแบ่งหัวข้อตาม Heading ซึ่งมันจะเรียงตั้งแต่ H1 – H6 ซึ่ง Google แนะนำว่า H1 ควรจะมีแค่ตัวเดียว ถ้าใน WordPress ตัว H1 ก็มักจะใช้เป็น Title ไปแล้ว ดังนั้นที่เหลืออยู่ในบทความให้เราใช้ก็ควรจะเป็น H2 และ H3 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง H3 ก็คือหัวข้อย่อยของ H2 นั่นเอง หรือบางคนอาจจะลึกไปถึง H4 ก็ได้เช่นกัน แล้วแต่โครงสร้างของหน้า โดยตัวหนังสือของ Heading แต่ละระดับก็จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ปกติก็จะเรียงจากใหญ่ไปเล็ก

Heading 2
    Heading 3
    Heading 3
    Heading 3
Heading 2
Heading 2

เวลาที่เราเพิ่มข้อความเพื่อจะใช้เป็น Heading ใน Heading block ก็จะมีให้เลือกว่าเป็น H2 H3 H4 ให้อยู่แล้ว

Gutenberg Heading block

ให้เราระบุจำนวน Heading ที่เราต้องการให้มีการสร้าง Table Of Contents ในหน้านั้นๆ ที่ Minimal Count of Headings อาจจะใช้ 3 หรือ 4 ขึ้นไป เพราะถ้าน้อยเกินไปมันก็ไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลเท่าไหร่ เพราะจริงๆ แล้วเขาใช้กับหน้าที่มีเนื้อหายาวๆ ให้เลื่อนอ่านได้สะดวกขึ้นเท่านั้น จากนั้นระบุความลึกของ Heading ก็คือจะให้เข้าไปลึกถึง H ไหน ที่ Depth และกำหนดให้มีการทำเป็นแบบลำดับชั้นที่ Hierarchical View คือตัวที่เป็นหัวข้อย่อยก็ให้มันขยับเข้าไปหน่อย จะได้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าอันนี้คือหัวข้อย่อยนะ เพราะเวลาอยู่บน Table Of Contents มันจะมีขนาดตัวหนังสือเท่ากันหมด

ภาพด้านล่างก็จะหมายถึง : ให้แสดง Table Of Contents ในหน้าที่มี 4 หัวข้อขึ้นไป โดยมีความลึกระดับ 3 และแสดงแบบเป็นลำดับชั้น

จากนั้นก็กำหนดได้ว่าจะใช้ตัวเลขระบุหรือไม่ เลขธรรมดาแบบไหน มีแบบธรรมดากับโรมัน ถ้าแบบที่มี (nested) ก็คือ จะมีพวกจุดย่อย เช่น 1 จะมีหัวข้อย่อยเป็น 1.2, 1.2, 1.3 เป็นต้น

กำหนดข้อความที่ต้องการ

อันนี้ง่ายๆ ก็คือ ใช้ข้อความของเราเพื่อบอกให้คนอ่านรู้ว่า ถ้าจะคลิกไปอ่านหัวข้ออื่นๆ ให้คลิกดูตรงนี้นะ และถ้าหากให้มันมีข้อความให้คลิกเป็นแบบหุบได้ แสดงได้ ก็ให้ติ๊กที่ Toggle Show/Hide ด้วย แล้วก็ใส่ข้อความที่เราต้องการลงไป หากต้องการให้มันแสดงตลอดเลยไม่ต้องคลิกเพื่อแสดง ก็ไม่ต้องติ๊กตามนะครับ

แถมยังสามารถกำหนดให้การเลื่อนไปยังหัวข้อนั้นๆ เป็นไปอย่างสมูทนิ่มนวลสุดๆ ด้วย

ปรับแต่งสีสัน

ปกติแล้วในแท็บ Appearance เราจะสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบ Light, Dark และอื่นๆ แต่ถ้าตรง Override Color Scheme Colors จะให้เราสามารถที่จะกำหนดสีเองได้เพื่อให้เข้ากับเว็บของเรา

และสามารถปรับได้ว่าจะให้แสดงยังไง ซ้าย ขวา เป็นต้น ลองปรับแล้วทดสอบดูว่าชอบแบบไหน ส่วนตัวเราก็จะเลือกขวา ไม่ได้เพราะอยากต่างจากคนอื่นนะ แต่เห็นคนถนัดขวาเยอะและเคอร์เซอร์ก็มักจะวางไว้ทางขวา มันใกล้มือกว่า

กำหนดตำแหน่งที่จะแสดง

เราสามารถที่จะให้ปลั๊กอินแทรก Table of content ลงไปในตำแหน่งใดๆ เหล่านี้ในโพสเราอัตโนมัติได้ โดยตำแหน่งที่มีให้เลือกก็จะมีทั้ง

  • Before first heading ก่อนหัวข้อแรก
  • After first heading หลังหัวข้อแรก
  • After first block (paragraph or heading) หลังบล็อคแรก
  • Top บนสุด
  • Bottom ล่างสุด

และติ๊กที่ Post Types ที่เราต้องการให้แสดง เราเลือกเอาเฉพาะ Post

การเขียนบทความแต่ละบทความให้ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่มีประสบการณ์ เพราะนอกจากเราจะมีข้อความในหัวแล้ว ยังจะต้องรู้จักการแยกย่อยรายละเอียดออกมาเป็นโครงสร้างที่ให้เข้าใจได้ง่ายกับทั้งผู้อ่านและผู้เขียนเองด้วย โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความยาวมากๆ

Gutenberg Support

เกือบลืมไปเลย ปลั๊กอินนี้ยังรองรับ Gutenberg block อีกด้วย นั่นก็คือ เราสามารถที่จะแทรกตัว Table of Contents ไว้ตรงส่วนไหนของบทความก็ได้ เพียงแต่เลือก Table of Contents block ใน Common blocks เท่านั้นเอง

LuckyWP Table Of Contents
บทสรุป
เป็นปลั๊กอินที่ใช้งานง่าย การปรับแต่งแยกเป็นสัดส่วนไม่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งสไตล์สีสันต่างๆ ได้สะดวก เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาจำนวนมาก
Customizability
Feature Availability
Easy to use
ข้อดี
ข้อเสีย
5
คะแนน
Back To Top
Search