Skip to content

การเขียนบทความใน WordPress นั้นก็ง่ายๆ เหมือนการเขียนในโปรแกรมอื่นๆ ทั่วไป เช่น Microsoft Word โดยเมื่อเราต้องการที่จะเขียนบทความใหม่ ก็สามารถทำได้ด้วยการเลือกเมนู สร้างใหม่ > เรื่อง จาก Toolbar

new-post

แล้วเราก็จะเจอหน้าตาสำหรับเขียนโพสใหม่แบบด้านล่างนี้ เป็นหน้าทำงานของเรา

เสมือนจริง (Visual)

คือการเขียนบทความแบบเหมือนเราพิมพ์ปกติ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ กล่าวคือ WordPress นั้นมีการพิมพ์ข้อความอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆ นี่แหละค่ะ จะใช้แบบ เสมือนจริง (Visual Editor) ส่วนอีกแบบคือแบบที่สร้างมาสำหรับเหล่าโปรแกรมเมอร์ หรือคนที่รู้โค้ด ถนัดการเขียนแบบโค้ดมากกว่า เขาก็จะใช้แบบ ตัวอักษร (Text Editor) จะเป็นแบบภาษา HTML อันนี้ขอไม่อธิบายต่อแล้วกันนะคะ ลองค้นคว้าดูกันเอาเอง

ขั้นแรกนั้นให้เราใส่ชื่อเรื่องที่จะเขียนในช่อง ใส่หัวข้อที่นี่ เสร็จแล้วด้านล่างตรงกล่องสี่เหลี่ยมขาวๆ ก็สามารถที่จะเริ่มต้เขียนได้เลย หลังจากที่เราใส่ชื่อหัวข้อหรือชื่อเรื่องแล้ว ระบบจะทำการสร้าง URL ของหน้าให้โดยอัตโนมัติ ตรงนี้ภาษาไทยจะใช้ระบบตัดคำไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ทำให้อาจจะขาดๆ หายๆ และอ่านไม่เป็นภาษามนุษย์เมื่อเรานำไปแชร์ที่อื่น เพราะจะเป็นตัวอักษรพิเศษและตัวเลขเต็มไปหมด ขั้นตอนนี้แนะนำให้แก้ไข URL เป็นภาษาอังกฤษแทนค่ะ จะตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง (เรายังไม่แนะนำให้ใช้ชื่อไฟล์รูปภาพเป็นภาษาไทยโดยเด็ดขาดอีกด้วย)

โดยเครื่องมือต่างๆ นั้นก็จะคล้ายๆ กับโปรแกรมอื่นค่ะ เช่น ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ เพียงแต่จะต่างจากโปรแกรมพวก Word Processing ตรงที่จะไม่ได้มีปุ่มปรับขนาดตัวหนังสือมาให้นะคะ เพราะจะควบคุมหลักๆ จากธีม เราสมารพคลิกที่ปุ่มในรูป เพื่อขยายเครื่องมือที่ถูกซ่อนไว้ให้แสดงออกมาได้

visual-editor

รูปแบบตัวหนังสือ

นอกจาก ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ จัดหน้าทั่วไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องใช้ก็คือ รูปแบบตัวหนังสือ หรือ Format ที่ปกติแล้วจะเป็นค่าเริ่มต้นว่า ย่อหน้า (Paragraph) ซึ่งจะแสดงตัวหนังสือในขนาดปกติ ใช้ในการเขียนทั่วไป แต่เมื่อใดที่เราต้องการที่จะขึ้นหัวข้อ เราก็สามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบข้อความนี้เป็น หัวข้อ (Heading) หัวข้อจะมีหมายเลขเรียงตามขนาด ตั้งแต่ 1-6 เรานิยมใช้ หัวข้อ 2 ในบทความ เพราะถ้าใช้หัวข้อ 1 นั้น จะไปซ้ำกับชื่อเรื่อง ซึ่งชื่อเรื่องที่เราตั้งไว้แต่แรกนั้น WordPress จะใช้เป็น หัวข้อ 1 โดยอัตโนมัติ ดังนั้นตามความสมเหตุสมผล หัวข้อต่างๆ ที่อยู่ในหน้านี้ ก็ควรจะเป็นหัวข้อที่เล็กกว่าชื่อเรื่อง เราจึงใช้ หัวข้อ 2 สำหรับเป็นหัวข้อหลักต่างๆ ในบทความ และถ้าย่อยกว่านั้นอีก ก็จะใช้ หัวข้อ 3 ซึ่งก็จะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ

การกำหนด หัวข้อ ให้กับบทความ เป็นการทำให้เว็บทั้งเว็บมีรูปแบบเป็นหนึ่งเดียวกัน ดีกว่าการกำหนดขนาดตัวหนังสือ ดังนั้น WordPress จึงไม่ใส่ที่กำหนดขนาดตัวหนังสือมาให้เรา และประเด็นที่สำคัญเลยก็คือ SEO (Search Engine Optimization) เครื่องมือในการค้นหาเว็บอย่าง Google.com นั้นจะทำการเก็บข้อมูลโดยดูจากหัวข้อต่างๆ เป็นหลักไปทำเป็นดัชนี เพื่อดูว่าเว็บเรานั้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร หัวข้อเหล่านี้ควรสอดครั้งกับชื่อเรื่อง จะส่งผลต่อการค้นหามากที่สุด

text-format

heading-paragraph

เราสามารถกดปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่างของบทความที่เราเขียนได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม ดูก่อน

preview

การแทรกรูปภาพ

เราสามารถแทรกรูปภาพหรือวิดีโอก็ได้ ด้วยการคลิกที่ปุ่ม เพิ่มสื่อ (Add Media)

add-media

จากนั้นคลิกที่แท็บ อัพโหลดไฟล์ (Upload Files) ทำการคลิกที่ปุ่ม เพื่อทำการอัพโหลดภาพ จะลงทีละภาพ หรือแบบหลายภาพทีเดียวก็ได้ อีกวิธีก็คือลากไฟล์ภาพมาวางในพื้นที่อัพโหลดก็ได้ เราสามารถแทรกรูปโดยดึงจาก URL ก็ได้ โดยการคลิกที่เมนู ใส่ไฟล์จาก URL (Insert from URL)

upload-picture

เมื่อเราอัพโหลดภาพเสร็แล้ว ระบบก็จะแสดงภาพแต่ละภาพดังนี้

file-details

ในส่วนของกรอบสีน้ำเงินและมีเครื่องหมายถูกนั้น แสดงให้เห็นถึงภาพที่ถูกเลือก และจะมีโชว์ที่ด้านล่างด้วย ถ้าเราคลิกหลายภาพ ก็จะแสดงหลายภาพ สามารถคลิกเลือกหรือยกเลิกได้ด้วยการคลิกซ้ำที่เครื่องหมายถูกก็จะเป็นการยกเลิก

ส่วนทางด้านขวามือนั้นคือรายละเอียดของภาพ มีทั้งขนาดภาพ กว้าง ยาว และขนาดของไฟล์ เราสามารถลบรูปออกได้ถ้าไม่ต้องการ ตั้งค่าการแสดงผลไฟล์แนบ เป็นการกำหนดว่าเราจะแทรกลงไปแบบไหน จัดแถว คือ จัดกลาง ซ้าย ขวา กำหนดให้ภาพลิงค์ไปที่ไหนหรือไม่ ขนาดที่จะทำการแทรก ไล่ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดเต็มดั้งเดิมของภาพ เมื่อตั้งค่าได้ตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม ใส่ไฟล์ลงในเรื่อง (Insert images into post)

image-insert-done

ภาพทั้งหมดที่อัพโหลดขึ้นไปนี้ สามารถเข้าไปจัดการได้ที่เมนู ไฟล์สื่อ > คลังสื่อ (Media > Library)

media-library

การตั้งค่าขนาดสำเร็จของภาพเวลาที่เราเลือกขนาดก่อนจะแทรกภาพนั้น สามารถตั้งค่าได้ที่เมนู ตั้งค่า > ไฟล์สื่อ (Settings > Media)

media-settings

เราสามารถที่จะแก้ไขภาพได้ด้วยการคลิกที่รูปภาพ แล้วคลิกเครื่องมือ แก้ไข (Edit)

edit-image

จะปรากฏการตั้งค่าต่างๆ ให้เราทำการแก้ไข นอกจากนี้เรายังสามารถทำการปรับแต่งภาพง่ายๆ เช่น การครอปภาพ เปลี่ยนขนาดภาพ พลิกภาพ เป็นต้น โดยการคลิกที่ปุ่ม แก้ไขไฟล์ดั้งเดิม (Edit Original)

edit-original

edit-original-panel

นอกจากภาพเดี่ยวๆ แล้ว เรายังสามารถแทรกเป็นแบบแกลลอรี่ เพื่อแสดงภาพหลายภาพรวมกัน เมื่อผู้อ่านต้องการดูภาพไหนก็คลิกภาพนั้น ตัวอย่างดังด้านล่าง สามารถอ่านได้ที่ การแทรก Gallery

การแทรกลิงค์

เราสามารถแทรกลิงค์ใน WordPress ง่ายๆ ด้วยการคลุมดำที่บทความที่เราต้องการแทรก แล้วกด Ctrl+K (Cmd+K) แล้วก็พิพม์หรือวางลิงค์ลงไปในช่องสำหรับแทรกลิงค์แล้วกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดได้เลย หากเป็นการลิงค์หาบทความอื่นๆ ในเว็บของเรา ก็ให้เราพิมพ์ชื่อบทความก็ได้ ระบบจะค้นหาให้เราคลิกที่บทความที่ต้องการได้เลย ส่วนวิธีเบสิคในการแทรกลิงค์ก็คือการคลิกที่ปุ่ม เพิ่ม/แก้ไขลิงค์ บนเมนูนั่นแหละค่ะ

insertinlinelink

 

หมวดหมู่ ป้ายกำกับ (Categories, Tags)

ด้านขวามือจะมีกล่องเครื่องมือที่เรียกว่า หมวดหมู่ และ ป้ายกำกับ เราสามารถกำหนดหมวดหมู่และป้ายกำกับให้กับบทความได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม สร้างหมวดหมู่ใหม่ ส่วนป้ายกำกับก็แค่พิมพ์ลงในช่องที่ให้กรอก แล้วคลิก เพิ่ม ซึ่งเมื่อเราเขียนบทความใหม่ครั้งหน้า ถ้าเป็นบทความในหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้ว เราแค่ติ๊กเลือกตรงหมวดหมู่ก็พอ ป้ายกำกับก็เช่นกัน เพียงเราพิมพ์ ระบบก็จะค้นหามาแสดงให้เราคลิกได้เลย

tag-cat

หมวดหมู่และป้ายกำกับเหล่านี้จะแสดงอยู่บนโพสเมื่อเราทำการเผยแพร่แล้ว ซึ่งเมื่อผู้อ่านคลิกที่หมวดหมู่หรือป้ายกำกับใดๆ ระบบก็จะแสดงบทความทั้งหมดในหมวดหมู่หรือป้ายกำกับนั้นๆ ให้ดู การวางแผน วางกรอบของบทความไว้ตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้เราสามารถจัดการกับบทความได้ง่ายและเป็นระบบ

tag-front

ตัดทอน, รูปพิเศษ (Excerpt, Featured Image)

ตัดทอน หรือ Excerpt เปรียบเสมือนเป็นเกริ่นนำของบทความของเรา โดยเราสามารถเขียนข้อความอะไรก็ได้ในกล่องตัดทอนนี้ เมื่อแสดงผลที่หน้าหลักหรือหน้ารวม ระบบก็จะแสดงข้อความที่เราเขียนไว้ออกมา เราสามารถเขียนให้น่าสนใจ ดึงดูดใจ กระตุ้นความกระหายใคร่รู้ให้กับผู้อ่านก็ได้ มีประโยชน์มาก อย่าแค่ก๊อปมาวางนะคะ

excerpt

ส่วน รูปพิเศษ หรือ Featured Image นั้นก็เหมือนภาพตัวอย่าง หรือ ภาพปก นั่นเอง ภาพสวย มีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ ใช้เวลาเลือกและตกแต่งนิดนึง

featured-image

เนื่องจากแต่ละธีมจะออกแบบในส่วนนี้มาแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างของ WPThaiuser เลยละกันนะคะ ตรงที่เราวงเส้นประไว้ นั่นก็คือ ชื่อเรื่อง กับ ตัดทอน นั่นเอง ส่วนรูปภาพนั้นก็คือ รูปพิเศษ หรือ Featured Image ค่ะ

excerpt-featuredimage

เผยแพร่ (Publish)

ก่อนทำการเผยแพร่บทความ อย่าลืมตรวจทานและพรีวิวดูก่อนว่าถูกต้องสวยงามอย่างที่ต้องการหรือไม่ หากพร้อมแล้วก็คลิกที่ปุ่ม เผยแพร่ ได้เลย แต่หากเรายังไม่ต้องการที่จะเผยแพร่ตอนนี้ ก็สามารถคลิกที่ปุ่ม บันทึกฉบับร่าง (Save Draft) ไว้ก่อนก็ได้ค่ะ เมื่อต้องการจะเผยแพร่ตอนไหน ก็ค่อยคลิกแก้ไขสถานะ จากฉบับร่างให้กลายเป็น เผยแพร่

publish

ตัวเลือกหน้า (Screen Options)

Screen Options เป็นเหมือนเมนูลับ ที่ไว้สำหรับซ่อนหรือแสดงกล่องเครื่องมือต่างๆ ในแต่ละหน้า มีอยู่ในหลายหน้า ไม่ว่าจะเป็นหน้าตั้งค่าต่างๆ หรือหน้าบทความนี้ก็มีเช่นกัน หากเราไม่เห็น หรือไม่อยากเห็นเครื่องมือตัวไหน ก็เพียงคลิกเพื่อเปิด ตัวเลือกหน้า นี้ออกมา เราก็จะสามารถติ๊กเพื่อที่จะเปิดหรือปิดตัวไหนก็ได้ เวลาเราเลื่อนลงไปดู เราก็จะไม่เห็นเครื่องมือเหล่านั้น หากหาอันไหนไม่เจอ ก็มาเปิดในนี้แหละ ตัวเลือกเหล่านี้จะไม่เหมือนกัน อยู่ที่ว่าหน้านั้นคือหน้าอะไร ถ้าอยู่ในหน้าจัดการรูปภาพ (Media Library) ก็จะอาจจะเป็นตัวตั้งค่าว่าจะให้แสดงกี่รูป เป็นต้น

screen-options

บทความในตัวอย่างจาก : http://www.oknation.net/blog/pukpik/2011/09/02/entry-1

Back To Top
Search